Wednesday 8 February 2023

ประชุมชี้แจงแนวทางการนำนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566


ประชุมชี้แจงแนวทางการนำนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566

            เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นางเบญจวรรณ ปกป้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร พร้อมด้วยนายอุกฤษฏ์ วัชระพิริยะกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการนำนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดสามารถปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 และสอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
            สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดประชุมชี้แจงแนวทางการนำนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ไปสู่การปฏิบัติ โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนุ  วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
            ว่าที่ร้อยตรี ธนุ  วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงหลักการสำคัญ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ตลอดจนปฏิทินการรับนักเรียน นักศึกษา เพื่อกำหนดแผนการรับนักเรียน นักศึกษาที่สอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมุ่งเน้นให้เพิ่มปริมาณผู้เรียนในวิทยาลัยเกษตรและประมง วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยสารพัดช่าง และให้ทุกกลุ่มวิทยาลัย เน้นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ ตลอดจนการรับนักเรียน นักศึกษาตามศักยภาพและความพร้อม สำหรับสถานศึกษาที่ดำเนินการโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) แนวใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 มี3แนวทาง 1.จัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ร่วมกับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ 2.ต่อยอดการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนเดิมที่โดดเด่น 3.จัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ โดยใช้กลไกลความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและอาชีวศึกษาจังหวัด โดยปฏิทินการรับนักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีดังนี้ เปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษา ในวันที่ 11 – 15  มีนาคม 2566 ทดสอบความรู้ฯ 26 มีนาคม 2566 ประกาศผล 30 มีนาคม 2566 และมอบตัว 2 เมษายน 2566
            เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินโครงการสำคัญที่ตอบโจทย์นโยบายดังกล่าวมาแล้ว เช่น การส่งเสริมการเรียนการสอนระบบทวิภาคีแนวใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการอาชีวศึกษา โดยเพิ่มจำนวนผู้เรียนให้ได้ถึงประมาณ 511,177 คน ในปี 2568 คิดเป็น 50% ของนักเรียนทั้งหมด นับว่า เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย และจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างแน่นอน การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มที่ตกหล่นออกนอกระบบการศึกษา เช่น โครงการอาชีวศึกษาอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ โครงการทวิศึกษา การปฏิรูปและยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 48 แห่งภายใต้แนวคิด 1 ฟาร์ม 1 วิทยาลัย การผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขายานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งโครงการดี ๆ อื่น ๆ เช่น การส่งเสริมความเลิศเฉพาะทางในโครงการ CVM และ Excellent Center รวมทั้งโครงการอาชีวะช่วยประชาชน ซึ่งนับว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา   มีบทบาทอย่างมากในการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามจากรายงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แสดงให้เห็นว่า ตลาดแรงงานมีความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษาสูง แต่ยังไม่สามารถผลิตคนได้เพียงพอต่อความต้องการดังกล่าว สอศ.จึงต้องวางแผนร่วมกันในการเพิ่มปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เร่งสร้างปริมาณผู้เรียน ควบคู่กับคุณภาพผ่านกลไกต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนในระดับจังหวัด เพื่อให้การรับนักเรียน นักศึกษา ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งการเรียนอาชีวศึกษา ทำให้มีงานทำ มีรายได้ระหว่างเรียน มีเงินเก็บ จบไปแล้วมีงานทำ และสามารถเรียนต่อในระดับสูงขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้มีคนเข้ามาเรียนมากขึ้นต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ปชส.สอศ. 











วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
286/1 ถนนบำรุงเมือง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2223-2276
เว็ปไซต์วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร www.bpc.ac.th

No comments:

Post a Comment