แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ XBB1.16
เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2566 กรมควบคุมโรคเปิดเผยตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) หรือ โควิด XBB 1.16 หรือ อาร์คตูรุส ช่วงสงกรานต์ (9-15 เมษายน 2566) พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตัวเลขที่ยังเพิ่มขึ้น เราจึงต้องรู้จักเจ้า โควิดชนิดใหม่นี้ให้มากขึ้น เพื่อรับมือให้ทัน
โควิด XBB 1.16 เป็นเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ XBB จากลูกผสมตระกูล Omicron BA.2.10.1 และ BA.2.75 มีรายงานการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมกราคม 2566 องค์การอนามัยโลกจัดเป็นเชื้อที่ต้องเฝ้าติดตาม การกลายพันธุ์เกิดขึ้นที่บริเวณ 483 ระดับภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody ลดลง จึงเพิ่มความสามารถในการแพร่เชื้อหรือก่อโรค แต่ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยใดที่อ้างถึง XBB.1.16 จะก่อความรุนแรง
อ้างอิงข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ XBB คือ สายพันธุ์ที่อาจจะระบาดเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยในปี 2566 นี้ โดยไวรัสดังกล่าวเป็นลูกผสมสายพันธุ์ย่อยที่มีต้นตระกูล จาก Omicron BA.2
คาดว่าไวรัส XBB ก็อาจมีการกลายพันธุ์ เป็น โควิด XBB 1.16 สายพันธุ์ย่อยต่อไปได้อีกอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หากอยู่ในพื้นที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นจะทำให้มีอาการหนักเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ *คนที่ไม่เคยติดโควิดมาก่อน จะมีความรุนแรงของโรค หนักกว่าคนที่เคยเป็นโควิดมาแล้ว
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 จะแตกต่างจาก XBB.1.16 ตรงที่ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนาม F846P เพียงอย่างเดียว เป็นลูกผสมของโอมิครอน Bj.1 และ BM.1.1.1 การกระจายแพร่เชื้อมีความเป็นไปได้ที่จะไวน้อยกว่าเพียงเล็กน้อยและการหลบภูมิคุ้มกันก็เช่นเดียวกัน
สำหรับสิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ อาการความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังหาข้อสรุปไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ มีการประกาศเปิดเผยในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการส่งข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ในไทยที่ถอดรหัสพันธุกรรมเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก (GISAID) ผ่าน Outbreak.info ร่วมกับองค์การอนามัยโลกพบว่า XBB.1.5 สายพันธุ์หลักในประเทศไทยที่ต้องเฝ้าระวัง
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ติดง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิมหรือไม่ ?
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัส เพิ่มขึ้น 3 ตำแหน่งคือ E180V, K478R และ S486P ทำให้สามารถเกาะติดเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม อีกทั้งพบว่า XBB.1.16 สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิม 1.5 – 2 เท่า
ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับอันตรายจากโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16
- อายุ 60 ปีขึ้นไป
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ความหนาของฝุ่น PM 2.5
- ผู้ป่วยโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง โรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน
- คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
- บุคคลที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน
- ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากตรวจพบเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและยาต้านไวรัสทันที หากปล่อยปละละเลยอาจมีอาการรุนแรงได้
โควิด อาร์คตูรุส สายพันธุ์ใหม่ มีอาการอย่างไร
- อุณหภูมิในร่างกายสูง
- มีไข้สูง
- ระคายเคืองดวงตา ใบหน้า
- ไอ
- เจ็บคอ
- น้ำมูกไหล
- การรับกลิ่นของจมูกผิดปกติ
- สำหรับต่างประเทศมีรายงานผู้ติดเชื้อเยื่อบุตาอักเสบ
การป้องกันการติดเชื้อ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16
- ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยให้บุตรหลานตลอดเวลา เมื่อมีความจำเป็นออกนอกบ้าน
- สอนเด็กล้างมือด้วย น้ำ สบู่หรือแอลกอออล์เจลบ่อย ๆ โดยผู้ปกครองควรเน้น การล้างมือจากอาการไอ หลังเข้าห้องน้ำ หรือก่อนการรับประทานอาหารเป็นหลัก
- อาบน้ำทันทีหลังพาบุตรหลานกลับจากที่สาธารณะ หรือหลังจากสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง
- เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็ก ผู้ปกครองและบุคคลในครอบครัวที่สัมผัสใกล้ชิดกับเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้ครบตามกำหนดที่กระทรวงสาธารณะสุขแนะนำ
- สิ่งที่ต้องเน้นของ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 คือการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นสถานที่ที่มีบุคคลอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กเล็ก ควรดูแลเรื่องความสะอาด สุขอนามัยเป็นพิเศษ เด็กเล็กที่มีอาการป่วยไม่ควรไปโรงเรียน และสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
286/1 ถนนบำรุงเมือง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2223-2276
เว็ปไซต์วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร www.bpc.ac.th
No comments:
Post a Comment